วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเมินการใช้เครื่องมือบล็อก

ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
การส่งงานแบบนี้เป็นสิ่งที่ดี ที่จะนำเอาเป็นแบบอย่างในใช้ เพราะว่าการส่งงานผ่านบล็อกนี้มีความสะดวกและยังจะฝึกฝนให้เรานั้นได้ใช้คอมพิวเตอร์เป็น และมีความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน รวมทั้ยังได้ความรู้ในการทำกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมด้วย

2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ได้ความรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำบล็อก การนำรูปภาพ นำนาฬิกา ปฎิทิน การใส่ภาพสไลด์ และอีกมากมาย และสิ่งเหล่านี้ที่เรียนรู้มานั้นนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
มีความสะดวกสบายมาก และยังเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยในการเรียนการสอนและมีความรวดเร็วในการใช้งาน

การสอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1.Classroom Management การบริหารการจัดการในชั้นเรีย การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในชั้นเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัยในชั้นเรียน ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู และการพัฒนาทักษะการสอนของครู ให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นัดเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.Happiness Classroom การจัดการชั้นเรียนให้มีความสุข เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจ สาระการเรียนรู้ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษา ท้าทายให้แสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน

3. Lifelong Learning การเรียนรู้ตลอดชีวิต การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง

4.Formal Education การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน

5.Non - Formal Education การศึกษานอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก

6. e-Learning การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น

7.graded การเรียนแบบระดับชั้น เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น

8.Policy education นโยบายการศึกษา ค หลักการหรือกรอบความคิด แนวทางกลวิธีการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น ๆ

9. Vision พลังแห่งการมองเห็น จินตนาการ การมองไปข้างหน้า การเข้าใจความจริงบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง สิ่งที่มองเห็นด้วยตาของของ หรือพลังแห่งจินตนาการ

10.Mission ความประสงค์ หรือความมุ่งหมายพื้นฐานขององค์กร ที่จะดำเนินการในระยะยาว อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นขอบเขตในการดำเนินงานขององค์กรหรือบริษัทก็ได้ พันธกิจที่ดีจะสามารถแยกความแตกต่างและคุณค่าขององค์กรแต่ละแห่งได้อย่างชัดเจน ดังนั้นพันธกิจจะบ่งบอกว่าธุรกิจขององค์กรคืออะไร อะไรคือสิ่งที่องค์กรต้องการจะเป็น และบางครั้งอาจจะแสดงสิ่งที่องค์กรกำลังให้บริการแก่ลูกค้าอยู่ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ

11.Goal เป้าหมาย สิ่งที่เป็นตัวกำหนดความต้องการ จุดมุ่งหมายขององค์กร ซึ่งองค์กรต้องการที่จะได้รับ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน และวางแผนการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้องค์กรสามารถประสบความสำเร็จยังจุดที่ตั้งใจไว้ได้ ภายในขอบเขตเวลาที่กำหนดไว้

12. Objective เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มีลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้

13. backward design เป็นกระบวนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ หรือตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังก่อน แล้วจึงออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และแสดงความรู้ ความสามารถตามหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียน/กิจกรรมการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่กำหนดไว้

14. Effectiveness ความมีประสิทธิผล ซึ่งสามารถบรรลุเป้าที่ตั้งไว้ ซึ่งแสดงว่าเก่ง จนทำบรรลุเป้าชนะในตลาดภายนอกได้ ซึ่งควรต้องมีประสิทธิภาพภายในด้วย

15. Efficiency ความีประสิทธิภาพ ทำงานได้เก่งขน อาจประหยัดต้นทุน หรือออผลผลิตเพิ่มก็ได้

16. Economy การศึกษาถึงวิธีการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมาใช้อย่างประหยัดหรืออย่างมีประสิทธิภาพ

17. Equity ความเสมอภาพ

18. Empowerment การให้อำนาจ การให้ความสามารถ การทำให้สามารถการอนุญาต หรือการเปิดโอกาสให้

19. Engagement การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กร นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย

20. Project วิธีทำงานที่เป็นระบบขั้นตอนเพื่อทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ให้สำเร็จ

21. Activies การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา

22. Leadership ความเป็นผู้นำ ความสามารถในการนำ จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ การศึกษานั้นได้ศึกษาตั้ง แต่คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ อำนาจ (Power) ของผู้นำ พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการศึกษาภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา และพยายามจะหาภาวะผู้นำที่มี ประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน

23. Leaders ผู้นำ คือ บุคคลที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง หรือการยกย่องขึ้นมาของกลุ่ม เพื่อให้หน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและช่วยเหลือให้กลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

24. Follows ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง

25. Situations เรื่องราว เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

26. Self awareness การรู้จักตน การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง

27. Communication กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ

28. Assertiveness พฤติกรรมการกล้าแสดงออก ง ความสามารถในการแสดงออกด้านการคิด การพูด การกระทำ ซึ่งรวมถึงอารมณ์ความรู้สึก ทั้งนี้ ความสามารถในการแสดงออกดังกล่าวของบุคคลต่อสถานการณ์ต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสมเป็นที่ยอมรับของสังคมโดยไม่ไปก้าวก่ายหรือล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น และที่สำคัญ เมื่อเจ้าตัวแสดงออกไปแล้วจะต้องไม่รู้สึกผิดด้วย

29. Time management การบริหารเวลา การรู้จักวางแผนและจัดสรรเวลาในการทำงานอย่างถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นนักบริหารเท่านั้นที่จะสามารถบริหารเวลา ทุกคนก็สามารถทำได้เพียงแต่ต้องรู้จักที่จะแบ่งเวลา โดยจัดสรรเวลาของตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสมตามวันเวลาที่กำหนด

30. POSDCoRB หน่วยงาน อาจจะเป็นภาครัฐ เอกชน องค์กรระหว่างประเทศ กลุ่มคนที่มารวมตัวกัน ภายใต้โครงสร้าง โดยมีเป้าหมายบางสิ่งบางอย่าง ที่ต้องการให้บรรลุ

31. Formal Leaders ผู้นำแบบเป็นทางการ ผู้นำที่มีการแต่งตั้งขึ้น โดยอาจผู้บังคับบัญชาในหน่วยงานหรือผู้บริหารในองค์กร จึงมีหน้าที่ดำเนินการโดยบทบาทและกฎระเบียบของหน่วยงาน

32. Informal Leaders ผู้นำแบบไม่เป็นทางการผู้นำที่ไม่ได้มีการแต่งตั้งหรือมีหน้าที่ในเชิงของการบริหาร หรือหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบังคับบัญชา แต่กลับได้รับการยกย่องหรือมีการยอมรับให้เป็นผู้นำ จากเพื่อนหรือผู้ที่มีตำแหน่งต่ำกว่า ซึ่งบุคคลนั้นอาจมีคุณสมบัติบางอย่างวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ นิสัยใจคอ ที่ก่อให้เกิดผู้นำแบบไม่เป็นทางการขึ้น

33. Environment สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

34. Globalization การให้ความหมายของโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ความหมายของโลกาภิวัตน์ก็เป็นปัญหาในการให้ความหมายในตัวของมันเอง และด้วยเหตุนี้จึงมีบ่อยครั้งที่การใช้คำว่าโลกาภิวัตน์มีการใช้อย่างคลาดเคลื่อนอย่างไม่ระมัดระวังตามความเข้าใจของผู้ที่ใช้

33. Competency สมรรถนะ ความรู้ (Knowlege) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะ (Attributes) ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง (Job Roles) ให้ประสบความสำเร็จและมีความโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ในเชิงพฤติกรรม เช่น มากกว่าเพื่อนร่วมงาน ในสถานการณ์ที่หลากหลายกว่า และได้ผลงานดีกว่าคนอื่น เป็นต้น

34. Organization Cultural วัฒนธรรมองค์การ ระบบของการยึดถือในสิ่งที่มีความหมายร่วมกันของสมาชิกภายในองค์การซึ่งมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ และพฤติกรรมอื่น ๆ

35. Individual Behavior พฤติกรรมบุคคล พฤติกรรมระดับบุคคลนี้ มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 4 องค์ประกอบ คือการรับรู้(Perception)ทัศนคติ (Attitudes)ค่านิยม (Values) การจูงใจ (Motivtion)

36. Group Behavior พฤติกรรมกลุ่ม จะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ๆ ในหน่วยงาน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 บุคคล หรือระหว่างบุคคลกับกลุ่มจะมีผล เนื่องมาจากองค์ประกอบหลายอย่างในตัวบุคคล เช่น ความนึกคิดเกี่ยวกับตัวเอง ความต้องการ ประสบการณ์ในการมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น พฤติกรรมของกลุ่มเป็นผลมาจากองค์ประกอบพื้นฐาน

37. Organization Behavior พฤติกรรมองค์กร จะแสดงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร พฤติกรรมในระดับนี้ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากบุคคล ซึ่งเป็นผู้นำในองค์กรนั้นๆ ภาวะของผู้เป็นผู้นำจะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมในระดับสาม ภาวะผู้นำนี้ยังบ่งบอกถึงว่าองค์กรได้เน้นให้มีการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นสิ่งที่ประสานให้องค์กรอยู่ได้

38. Team working การทำงานเป็นกลุ่ม “บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์ (Interacting) ต่อกัน และมีการพึ่งพา (Interdependent) ต่อกันและกัน เพื่อจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน”

39. Six Thinking Hats เทคนิคการคิดอย่างมีระบบ คิดอย่างมีโฟกัส มีการจำแนกความคิดออกเป็นด้านๆ และคิดอย่างมีคุณภาพ เพื่อช่วยจัดระเบียบการคิด ทำให้การคิดมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนวคิดหลัก “การคิด” เป็นทักษะช่วยดึงเอาความรู้และประสบการณ์ของผู้คิดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ทักษะความคิดจึงมีความสำคัญที่สุด

40. Classroom Action Research การวิจัยในชั้นเรียน เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งเป็นการวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเป็นครั้ง ๆ ไป หรือเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ผลการวิจัยที่ค้นพบนี้ไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงกับกลุ่มอื่น ๆ ได้ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวงจำกัด หรือเป็นปัญหาเฉพาะที่ เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนบางอย่างที่ครูต้องการคำตอบมาอธิบายเฉพาะที่เกิดขึ้นในห้องที่ตนรับผิดชอบอยู่ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาของห้องเรียนอื่น ๆ การศึกษาปัญหาลักษณะนี้
การสอบ
คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
(1) Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
    -  Classroom managemant เป็นการบริหารการจัดการในชั้นเรียนของครูผู้สอน โดยการสร้างวินัยที่มีประสิทธิผล การเตรียมการชั้นเรียน การจูงใจนักเรียน การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย และเหมาสมกับวัยของนักเรียน การจัดสภาพการเรียนทางบวก การสร้างการยอมรับนับถือตนเอง การสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ และที่สำคัญควรที่จะเอาใจใส่กับเด็กทุกคนให้มีสิทธิเท่าเทียม เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความเอารัดเอาเปรียบกัน
(2) ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
   -  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ หมายถึง ข้อกําหนดสําหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
มาตรฐานความรู้
มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมี ความรู้ดังต่อไปนี้
1. ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
2. การพัฒนาหลักสูตร
3. การจัดการเรียนรู้
4. จิตวิทยาสำหรับครู
5. การวัดและประเมินผลการศึกษา
6. การบริหารจัดการในห้องเรียน
7. การวิจัยทางการศึกษา
8. นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
9. ความเป็นครู
    มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ
ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุ สภากำหนด
ดังนี้
1. การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
2. การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
     มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนด พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชํานาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งความชํานาญเฉพาะด้านและความชํานาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กําหนดว่ามีความรู้ ความสามารถ และความชํานาญ เพียงพอที่จะดํารงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่ นั่นก็คือการกําหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
      มาตรฐานการปฎิบัติตน หมายถึง ข้อกําหนดเกี่ยกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ เพื่อดํารงไว้ซึ่งชื่อเสียง ฐานะ เกียรติ และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกําหนดเป็นข้อบังคับต่อไป หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทําให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง
จรรยาบรรณต่อตนเอง ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็น สมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ   จรรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
1.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ ศิษย์และผ้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
2. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดี งามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
3.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย วาจา สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
4.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกี้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่น ในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(3)  ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
หลักในการจัดชั้นเรียนคือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ควรคำนึงถึงหลักในการจัดชั้นเรียน ดังนี้มีความยืดหยุ่นคือ
1.เสริมสร้างความรู้ทุกด้าน
2.มีสภาพแวดล้อมที่ดี
3.เสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงามและสร้างความเป็นระเบียบ
4.สร้างเสริมประชาธิปไตย
5.เอื้อต่อหลักสูตร
(4)   ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1) และข้อ (2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ทางโรงเรียนจะต้องจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนจะต้องมีปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ และสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน และยกระดับมาตรฐานโรงเรียนให้สูงขึ้น จัดสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ บริเวณโรงเรียน ให้เอื้อต่อบรรยากาศการเรียนการสอน เพื่อใช้เป็นสถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้ และยังช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลายเมื่อเวลาที่เรียนมาเหนื่อยๆ และในการจัดนั้นควรที่จะให้เด็กเข้ามีส่านร่วมด้วยในการทำ
สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย มีการจัดบรรยากาศภายในอาคารเรียนให้เกิดความสะอาด ความร่มรื่น ความสวยงาม ความปลอดภัย และความสะดวก มีการตกแต่งที่สวยงาม มีแสงสว่างเพียงพอ ประตูหน้าต่างอยู่ในสภาพดีมีอุปกรณ์ยึดมั่นคง ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์อยู่ในสภาพเรียบร้อยและใช้การได้ดี มีการดูแลสภาพสีของอาคารให้อยู่ในสภาพที่สะอาดเรียบร้อย มีป้ายชื่อบอกอาคารและห้องต่างๆ มีความเป็นระเบียบมีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ ส่วนการรักษาความปลอดภัยในอาคารเรียนจะต้องมีการรักษาความปลอดภัยอาคารเรียนมีผู้รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยเป็นลายลักษณ์อักษร มีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการป้องกันและรักษาความปลอดภัย การควบคุม และติดตามการรักษา ความปลอดภัยอาคารเรียน การฝึกอบรมวิธีการรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัย
(5)  ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 1. มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
2.มีความซื่อสัตย์สุจริต
3.มีความกตัญญูกตเวที
4.มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวมประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
5. ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม1.รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
2.เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต1.มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
2. เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
3.ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
4. มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ
ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์1.สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมี การคิดแบบองค์รวม
2.สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
3.ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
4.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร1.มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
2.มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
3.สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
4.สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5.สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง1.มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
2.สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ ได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
3.มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมา โรงเรียน
ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี1.มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2.มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
3. ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
4. มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
5. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา1.ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
2.ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
3.ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
(6)  ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
การให้นักศึกษาได้ค้นพบคุณธรรม จริยธรรมจากประสบการณ์ตรง
1.การนำนักศึกษาไปศึกษาและปฏิบัตินอกสถานที่ และตั้งจุดมุ่งหมายของการสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น
1.1การปฏิบัติธรรม เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้นักศึกษาได้เรียนรู้การฝึกสมาธิ และสาระที่จะได้จากการฟังธรรม ส่วนเด็กมุสลิมก็ไปฟังเช่นกันจากผู้ที่มีความรู้ทางศาสนาและยังได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดและมัสยิด เช่น การทำความสะอาด การบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธา เป็นต้น
1.2 การปลูกป่า ซึ่งทำทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น โครงการปลูกป่าชายเลนร่วมกับกองทัพเรือ เป็นการปลูกฝังให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อวัฏจักรของชีวิตอันจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นักศึกษารักและหวงแหนธรรมชาติต่อไป
1.3การชื่นชมสุนทรียะจากงานศิลป์ ตามวัดวาอารามหรือสถานที่สำคัญ เพื่อปลูกฝังความรัก ความหวงแหนในมรดกของชาติที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย
2 การเชิญบุคคลต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรมมาให้ข้อคิดกับ นักเรียนในชั้นเรียน ซึ่งผู้สอนได้กำหนดถึงความเหมาะสมของบุคคลต้นแบบ โดยไม่ได้คำนึงว่า บุคคลดังกล่าวต้องเป็นคน ที่มีชื่อเสียง โด่งดังระดับชาติ แต่เป็นใครก็ได้ที่สามารถเป็นต้นแบบทางคุณธรรม จริยธรรม โดยยึดหลักการที่ว่า “แบบที่ดี เป็นสื่อการสอนที่วิเศษสุด”
3 การศึกษาจากบุคคลตัวอย่างที่ต้องกำหนดให้หลากหลายอาชีพ เช่น แม่ค้าขายไข่ปิ้ง คนขับรถแท็กซี่ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาได้ไปพูดคุยกับคนเหล่านั้น พร้อมทั้งเก็บหลักฐานและข้อมูลเพื่อนำเสนอในชั้นเรียนและส่งผู้สอนเพื่อประเมินผล กิจกรรมนี้ เน้นให้นักศึกษาค้นพบคุณธรรม จริยธรรมและวิสัยทัศน์ที่เป็นหลักแห่งการดำเนินชีวิตที่ประสบความสำเร็จ ความสุขตามจากบุคคลตัวอย่างที่ไปศึกษา
นี่คือตัวอย่างกิจกรรมที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม




 

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
1.การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
   - ซึ่งการเรียนการสอนโดยใช้ Mind Mapping  ทำให้ผู้สอนทราบว่าผู้เรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์เนื้อหาและทราบว่า ผู้เรียนสามารถสรุปเนื้อหาได้อย่างดี
   - การสอนโดนใช้ Mind Mapping  เป็นวิธีหนึ่งที่ดีในการสอนให้ผู้เรียนมีความคิดวิเคราะห์ได้เป็นอย่างดี
2.ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?
     - ตัวอย่าง การใช้เครื่องมือหมวกในการเรียนวิชา คณิตศาสตร์
           1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
          2.แบ่งกลุมนักเรียนให้คิด ดังนี้
กลุมที่ 1 ตั้งคำถามให้คิด (สีขาว)
กลุ่มที่ 2 ถามความรู้สึก (สีแดง)
กลุ่มที่ 3 ตรวจสอบหาผลกระทบ (สีดำ)
กลุ่มที่ 4 หาข้อดี (สีเหลือง)
กลุ่มที่ 5 หาทางเลือกในการพัฒนา (สีเขียว)
กลุ่มที่ 6 โครงสร้างกระบวนการคิด
        3.กลุ่มสรุปแผนการดำเนินโครงการ
จากการศึกษาเรื่อง หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ ทำให้ได้รับความรู้และทดลองฝึกปฎิบัติวิธีการคิดที่หลากหลาย ทำให้ทราบว่า เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เราสามารถมีวิธีการคิด หรือมุมมองในเรื่องเดียวกันนั้น ได้หลายแบบ แล้วแต่ว่า คุณคิดโดยใช้หมวกสีใด
ซึ่งการคิดโดยใช้หมวกสีต่างๆ ล้วนมีประโยชน์ทั้งสิ้น แล้วแต่ความเหมาะสมและการนำไปใช้ประโยชน์ ที่นี้มาดูนะคะว่าหมวก 6 ใบนั้นมีสีอะไรบ้าง และหมายถึงการคิดแบบใด

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 13

คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ 1) ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
       - ไม่ค่อยเหมาะ เนื่องจากเด็กและผู้ใหญ่ในยุคนี้จะไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องของการบริโภค ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับราคา ปริมาณ และจะไม่ค่อยเน้นคุณภาพ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น โรคอ้วน ความดัน เป็นต้น

2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม  คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออกกำลังกายไหม)
      - กิจกรรมที่สำคัญของเด็กปัจจุบันนี้ คือ การเล่นเกมส์หน้าคอมพิวเตอร์ จึงไม่ค่อยสนใจในเรื่องการออกกำลังกายสักเท่าไรนัก จึงก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆตามมา ปัจจุบันถือว่าปฏิทินการออกกำลังกายของเด็กมีน้อยมาก

 3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
      - มี แต่บางสถานการณ์เราไม่อาจจะควบคุมได้ เนื่องจากความพยายามของเราได้ประสบความสำเร็จ นั่นบ่งบอกให้เราทราบว่า เราทำสำเร็จแล้วตามความคาดหวังและตั้งใจไว้

4) ขณะนี้โรงเรียนได้ให้ความสาคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง(มีชื่อเสียง) 
        - เพียงพอแล้ว เนื่องจากการออกกำลังกายนั้นเราสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง หรือการเคลื่อนไหวต่างๆ ถือว่าได้ออกกำลังกายแล้ว
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
       - ไม่มากนัก อาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรในการที่จะจำแนก เด็กปกติกับเด็กเสี่ยง
6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต(สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ “ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น” โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
      - จะเรียกนักเรียนที่เป็นเด็กกลุ่มเสี่ยงมารวมตัว แล้วประชุมพร้อมกันว่า จะทำอย่างไรให้เด็กๆ มีการเรียนที่ดีขึ้น  โดยให้เด็กออกความคิดเห็นเอง เพื่อใช้เป็นแนวให้กับตนและเพื่อนๆ
 7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
     - มี แต่ยังไม่ครอบคลุมพอ เนื่องจากหลักสูตรในประเทศไทย ยังเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องหรือเกี่ยวข้องกับรายวิชาที่เรียน
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
     - น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเน้นการเรียน การสอนมากกว่า
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ฯลฯ
      - สังเกต ครู พ่อ แม่ จะทราบถึงพัฒนาการที่ดีขึ้น หรือแย่ลงของนักเรียนหรือลูกหลานของตน

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 12

ระหว่างวันที่ 17-23 มกราคม 2554 หลักสูตรสังคมศึกษาได้จัดทัศนศึกษาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน สุโขทัย พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ซึ่งกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการบูรณาการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กิจกรรมทัศนศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้  ให้นักศึกษาเล่าบรรยากาศ การเดินทาง สิ่งที่พบและเกิดองค์ความรู้ใหม่ ลงในบล็อกของนักศึกษาและนำเสนอ    ผลงานของนักศึกษาเป็นรายบุคคล เป็นโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ให้นำมาใส่ลงบล็อกของนักศึกษา  และสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้ไปทัศนศึกษาให้นำเสนอว่าในช่วงเวลาดังกล่าว นักศึกษาทำกิจกรรมอะไร ได้องค์ความรู้อะไร สรุปเขียนลงในบล็อก และนำเสนอผลงานที่นักศึกษาได้ทำ ทำเป็น Slide.com หรือโปรแกรมนำเสนออื่น ๆ ลงในบล็อกของนักศึกษาเช่นกัน
      สรุปงานนักศึกษาจะมี 2 ชิ้น คือ
      1) สรุปเล่าเหตุการณ์การเดินทางและองค์ความรู้ที่พบลงนบล็อกของนักศึกษา 
      2) นำเสนอรูปภาพมีคำบรรยายประกอบรูปภาพ ลงในโปรแกรม Slide.com หรือโปรแกรมอื่น ๆ
ในกิจกรรมนี้ถือว่าเป็นการศึกษานอกสถานที่ นักเรียนต้องออกแบบเก็บข้อมูลให้ละเอียดมากที่สุด

1.ได้ไปศึกษาเกี่ยวกับเทศบาลของตำบลตนเองในเรื่องของ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประเพณีวัฒนธรรม รวมถึงภูมิปัญญาในเทศบาลของตนเอง ทำให้เราเรียนรู้ถึงสิ่งเหล่านี้อย่างแท้จริง   ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมา และทราบถึงรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนในเรื่องของข้อมูลทั่วไปภายในเทศบาลของตน อีกทั้งยังทราบถึงความแตกต่างแต่ความไม่แตกแยกของคนในเทศบาลที่ยังมีในเห็นซึ่งไม่ต่างจากเมื่อก่อนเลยแม้แต่นิดเดียว แม้จะมีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นก็ตาม

2. นี่คือรูปของเทศบาลของดิฉัน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 6 ชุมชน โดยศึกษาข้อมูลทั่วไปของเทศบาลในภาพรวม ทำให้ทราบถึงลักษณะภูมิอากาศ ที่สามารถเห็นถึงความแตกต่างได้เลยว่า ในอดีตถึงปัจจุบันอากาศมีความแตกต่างกันมาก
นี่คือลักษณะภูมิประเทศในเทศบาลของดิฉัน ซึ่งจะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยาง ค้าขายเป็นบางส่วน และรับจ้างทั่วไปเพียงเล็กน้อย











นี่คือรูป ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่ทางเทศบาลตำบลปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาสจัดขึ้นในทุกๆปี ซึ่งมีความหลากหลายและความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป ประเพณี วัฒนธรรมที่จัดขึ้น เช่น วันอาซูรอ พิธีเข้าสุนัตหมู่ ส่วนการละเล่นของเทศบาล คือ การแสดงซีละ การเล่นลูกข่าง และการแสดงดิเกฮูลู


วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1
กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 
หน่วยการเรียนรู้ที่  1  การนับศักราชและการแบ่งช่วงเวลาของประวัติสาสตร์ไทย    เวลา  1 ชั่วโมง
สาระที่  4  ประวัติศาสตร์
มาตรฐานที่  ส4.1.1  เข้าใจความหมายความสำคัญของการนับเวลา   การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์  และเทียบศักราชในระบบต่าง ๆ  เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง


1.  สาระสำคัญ
                ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวของสังคมมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปในมิติของเวลา   เพราะกาลเวลาจะบอกเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตผ่านไปนานมากน้อยแค่ไหน  ถ้าไม่นานก็บอกเป็นเดือน  เป็นปี  หรือศักราช  แต่ถ้านานมากก็บอกเป็นช่วงเวลาหรือสมัย  ถ้านาน ๆ  ก็บอกเป็นยุค   ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถเปรียบเทียบได้
2.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                2.1  รู้และเข้าใจในการเทียบศักราชแบบต่าง ๆ 
                2.2 วิเคราะห์ความสำคัญของการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทยได้
                2.3  สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.  จุดประสงค์การเรียนรู้
                หลังจากครูสอนเรื่องการนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยแล้ว  นักเรียนมีความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้
                3.1  ระบุความสัมพันธ์  เทียบศักราชแบบต่าง ๆ  และแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยได้
                3.2  ให้ความร่วมมือกับคนในกลุ่ม  ด้วยความเต็มใจ  ไม่เกี่ยงงาน  ไม่ละทิ้งหน้าที่
 ตั้งใจทำงาน
                3.3  รู้จักรักษามรดกที่บรรพบุรุษได้สร้างและสะสมไว้ด้วยความยากลำบาก  ให้คงทนถาวรตลอดไป 
4.  สาระการเรียนรู้
ด้านความรู้  ความเข้าใจ (K)
                1.  การนับศักราช การเทียบศักราช  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
2.  การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ทักษะในทางสังคมย่อย  การปรับตัวให้อยู่ร่วมกันในสังคม 
โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ  ร่วมกัน  เช่น  การทำงาน  การเล่น การเรียน  และการพยายามแก้ปัญหาร่วมกันอย่ามีเหตูผลและถูกวิธี
                ด้านเจตคติ  ค่านิยม  คุณธรรม  (A)
                3.  ความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ  สำนึกในคุณต่อผู้ทำประโยชน์และเสียสละชีพเพื่อชาติ  พึงระลึกไว้เสมอว่าทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของประเทศ  ไม่ควรเพิกเฉยนิ่งดูดาย  ต่อการทำประโยชน์ให้กับประเทศ  บ้านเกิดเมืองนอนของตน  แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม
5.  กระบวนการจัดการเรียนรู้
                ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                5.1  ครูพูดคุยทักทายกับนักเรียน  เช็คชื่อว่าใครมาเรียน  ลาเรียน  และขาดเรียนบ้าง
                5.2  ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการถามว่า
นักเรียนคะ  ปีนี้  พ.ศ. 2550  ตรงกับคริสต์ศักราชที่เท่าไรคะ  เมื่อนักเรียนตอบได้ก็บอกว่าถูกต้องค่ะ  ที่ครูให้นักเรียนเทียบศักราช  เพราะว่าวันนี้เราจะเรียนเรื่องการนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยนะคะ
                5.3  ถ้านักเรียนตอบไม่ได้ให้ครูพูดว่า
อ้าว !  ไม่เป็นไรค่ะนักเรียน   ตอนนี้นักเรียนยังตอบครูไม่ได้  แต่ว่าครูเชื่อว่าเมื่อพวกเราเรียนเรื่องการนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยจบแล้วนักเรียนจะตอบคำถามครูได้   อ้าว !   งั้นเรามาเริ่มเรียนกันเลยนะคะ
                ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                5.4  ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษางาน  แบ่งเป็น  5  กลุ่ม   กลุ่มละ  7 - 8   คน แล้วจับฉลากเพื่อแบ่งหัวข้อที่แต่ละกลุ่มจะได้ศึกษา  ซึ่งมี  5  หัวข้อ ดังนี้
                                1. การนับศักราช
                                2.  การเทียบศักราช
                                3.  การแบ่งช่วงเวลาแบบสากล
                                4.  การแบ่งช่วงเวลาแบบไทย
                                5.   ความภาคภูมิใจและวิธีการรักษามรดกที่บรรพบุราได้สร้างสมไว้

               
5.5  ครูแจกใบความรู้ให้กับนักเรียนทุกคนในกลุ่ม 
                5.6  นักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่มของตนเอง  และสรุปเป็นองค์ความรู้ของแต่ละกลุ่ม  ( ครูแจกกระดาษฟูลสแค๊ปและปากกาเคมี )
                5.7  ตัวแทนแต่ละกลุ่ม  ออกไปอภิปรายหน้าชั้น  เกี่ยวกับสิ่งที่กลุ่มของตนได้สรุปเป็นองค์ความรู้  
               
ขั้นสรุป
               
5.8  ครูเพิ่มเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์  โดยสรุปเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงนั้น 
                5.9  ครูแจกใบงานให้นักเรียนทำเป็นการบ้าน  พร้อมทั้งกำหนดสถานที่และวันส่งให้ชัดเจน  
6.  วัสดุ   อุปกรณ์   สื่อ  /   แหล่งเรียนรู้
                6.1  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา   และวัฒนธรรม   ประวัติศาสตร์ ม.1  ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544
                6.2  ใบความรู้ที่ครูทำขึ้น
                6.3  ห้องสมุด
                6.4  อินเตอร์เน็ต (
www.aksorn.com/Lib/S/Soc_04)
                6.5  ปากกาเคมี
                6.6  กระดาษฟูลสแค๊ป
                6.7  ฉลาก  5  ใบ  ( ที่ใช้เป็นหัวข้อในการศึกษางานกลุ่ม )
7.  การวัดผลประเมินผล
                7.1  สิ่งที่ต้องการวัด/วิธีวัด
                                7.1.1  ความรู้ความเข้าใจของการเทียบศักราชแบบต่าง ๆ  จากการทำแบบฝึกหัด
                                7.1.2 ทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม  จากสถานการณ์จริงที่นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาใบงาน  จนกระทั่งได้เป็นองค์ความรู้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
                                7.1.3  ความภาคภูมิใจ และรู้จักวิธีรักษามรดกที่บรรพบุรุษได้สร้างสมไว้  จากแบบฝึกหัดข้อที่  5 
                7.2  เครื่องมือ
                                7.2.1  แบบฝึกหัด
                                7.2.2  แบบสังเกตพฤติกรรม
               7.3  เกณฑ์การประเมินผล
                                7.3.1  แบบฝึกหัดมี  5  ข้อ  ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ 
                                           ข้อ  1และ2  ข้อละ  5  คะแนน,  ข้อ  3   1  คะแนน,  ข้อ  4 และ5 
ข้อละ  2  คะแนน
                               
           ข้อ  1  และ  2  ตอบถูกได้  1  คะแนน  ตอบผิดได้  0       ข้อ  3  ตอบถูกได้  1  คะแนน  ตอบผิดได้  0
                                            ข้อ  4  ตอบถูกได้  2  คะแนน  ตอบผิดได้  1  คะแนน   
ข้อ  5  ขอเพียงให้ตอบตามความเข้าใจได้  2  คะแนน
                                 รวมทั้งหมด  15  คะแนน  ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ  70  คือต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า  10.5
                                7.3.2  พฤติกรรมผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ  70
                                           รวมคะแนนพฤติกรรม  20  คะแนน  คือต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า  14  จึงจะผ่าน