วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1
กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา  ศาสนา  และวัฒนธรรม                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 
หน่วยการเรียนรู้ที่  1  การนับศักราชและการแบ่งช่วงเวลาของประวัติสาสตร์ไทย    เวลา  1 ชั่วโมง
สาระที่  4  ประวัติศาสตร์
มาตรฐานที่  ส4.1.1  เข้าใจความหมายความสำคัญของการนับเวลา   การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์  และเทียบศักราชในระบบต่าง ๆ  เพื่อให้เข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง


1.  สาระสำคัญ
                ประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวของสังคมมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปในมิติของเวลา   เพราะกาลเวลาจะบอกเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตผ่านไปนานมากน้อยแค่ไหน  ถ้าไม่นานก็บอกเป็นเดือน  เป็นปี  หรือศักราช  แต่ถ้านานมากก็บอกเป็นช่วงเวลาหรือสมัย  ถ้านาน ๆ  ก็บอกเป็นยุค   ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถเปรียบเทียบได้
2.  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                2.1  รู้และเข้าใจในการเทียบศักราชแบบต่าง ๆ 
                2.2 วิเคราะห์ความสำคัญของการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทยได้
                2.3  สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.  จุดประสงค์การเรียนรู้
                หลังจากครูสอนเรื่องการนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยแล้ว  นักเรียนมีความรู้ความสามารถดังต่อไปนี้
                3.1  ระบุความสัมพันธ์  เทียบศักราชแบบต่าง ๆ  และแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยได้
                3.2  ให้ความร่วมมือกับคนในกลุ่ม  ด้วยความเต็มใจ  ไม่เกี่ยงงาน  ไม่ละทิ้งหน้าที่
 ตั้งใจทำงาน
                3.3  รู้จักรักษามรดกที่บรรพบุรุษได้สร้างและสะสมไว้ด้วยความยากลำบาก  ให้คงทนถาวรตลอดไป 
4.  สาระการเรียนรู้
ด้านความรู้  ความเข้าใจ (K)
                1.  การนับศักราช การเทียบศักราช  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย
ด้านทักษะกระบวนการ (P)
2.  การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ทักษะในทางสังคมย่อย  การปรับตัวให้อยู่ร่วมกันในสังคม 
โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ  ร่วมกัน  เช่น  การทำงาน  การเล่น การเรียน  และการพยายามแก้ปัญหาร่วมกันอย่ามีเหตูผลและถูกวิธี
                ด้านเจตคติ  ค่านิยม  คุณธรรม  (A)
                3.  ความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ  สำนึกในคุณต่อผู้ทำประโยชน์และเสียสละชีพเพื่อชาติ  พึงระลึกไว้เสมอว่าทุกคนมีส่วนเป็นเจ้าของประเทศ  ไม่ควรเพิกเฉยนิ่งดูดาย  ต่อการทำประโยชน์ให้กับประเทศ  บ้านเกิดเมืองนอนของตน  แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม
5.  กระบวนการจัดการเรียนรู้
                ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                5.1  ครูพูดคุยทักทายกับนักเรียน  เช็คชื่อว่าใครมาเรียน  ลาเรียน  และขาดเรียนบ้าง
                5.2  ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการถามว่า
นักเรียนคะ  ปีนี้  พ.ศ. 2550  ตรงกับคริสต์ศักราชที่เท่าไรคะ  เมื่อนักเรียนตอบได้ก็บอกว่าถูกต้องค่ะ  ที่ครูให้นักเรียนเทียบศักราช  เพราะว่าวันนี้เราจะเรียนเรื่องการนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยนะคะ
                5.3  ถ้านักเรียนตอบไม่ได้ให้ครูพูดว่า
อ้าว !  ไม่เป็นไรค่ะนักเรียน   ตอนนี้นักเรียนยังตอบครูไม่ได้  แต่ว่าครูเชื่อว่าเมื่อพวกเราเรียนเรื่องการนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยจบแล้วนักเรียนจะตอบคำถามครูได้   อ้าว !   งั้นเรามาเริ่มเรียนกันเลยนะคะ
                ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                5.4  ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษางาน  แบ่งเป็น  5  กลุ่ม   กลุ่มละ  7 - 8   คน แล้วจับฉลากเพื่อแบ่งหัวข้อที่แต่ละกลุ่มจะได้ศึกษา  ซึ่งมี  5  หัวข้อ ดังนี้
                                1. การนับศักราช
                                2.  การเทียบศักราช
                                3.  การแบ่งช่วงเวลาแบบสากล
                                4.  การแบ่งช่วงเวลาแบบไทย
                                5.   ความภาคภูมิใจและวิธีการรักษามรดกที่บรรพบุราได้สร้างสมไว้

               
5.5  ครูแจกใบความรู้ให้กับนักเรียนทุกคนในกลุ่ม 
                5.6  นักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่มของตนเอง  และสรุปเป็นองค์ความรู้ของแต่ละกลุ่ม  ( ครูแจกกระดาษฟูลสแค๊ปและปากกาเคมี )
                5.7  ตัวแทนแต่ละกลุ่ม  ออกไปอภิปรายหน้าชั้น  เกี่ยวกับสิ่งที่กลุ่มของตนได้สรุปเป็นองค์ความรู้  
               
ขั้นสรุป
               
5.8  ครูเพิ่มเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์  โดยสรุปเนื้อหาที่เรียนในชั่วโมงนั้น 
                5.9  ครูแจกใบงานให้นักเรียนทำเป็นการบ้าน  พร้อมทั้งกำหนดสถานที่และวันส่งให้ชัดเจน  
6.  วัสดุ   อุปกรณ์   สื่อ  /   แหล่งเรียนรู้
                6.1  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา   และวัฒนธรรม   ประวัติศาสตร์ ม.1  ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544
                6.2  ใบความรู้ที่ครูทำขึ้น
                6.3  ห้องสมุด
                6.4  อินเตอร์เน็ต (
www.aksorn.com/Lib/S/Soc_04)
                6.5  ปากกาเคมี
                6.6  กระดาษฟูลสแค๊ป
                6.7  ฉลาก  5  ใบ  ( ที่ใช้เป็นหัวข้อในการศึกษางานกลุ่ม )
7.  การวัดผลประเมินผล
                7.1  สิ่งที่ต้องการวัด/วิธีวัด
                                7.1.1  ความรู้ความเข้าใจของการเทียบศักราชแบบต่าง ๆ  จากการทำแบบฝึกหัด
                                7.1.2 ทักษะกระบวนการทำงานกลุ่ม  จากสถานการณ์จริงที่นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาใบงาน  จนกระทั่งได้เป็นองค์ความรู้ออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
                                7.1.3  ความภาคภูมิใจ และรู้จักวิธีรักษามรดกที่บรรพบุรุษได้สร้างสมไว้  จากแบบฝึกหัดข้อที่  5 
                7.2  เครื่องมือ
                                7.2.1  แบบฝึกหัด
                                7.2.2  แบบสังเกตพฤติกรรม
               7.3  เกณฑ์การประเมินผล
                                7.3.1  แบบฝึกหัดมี  5  ข้อ  ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้ 
                                           ข้อ  1และ2  ข้อละ  5  คะแนน,  ข้อ  3   1  คะแนน,  ข้อ  4 และ5 
ข้อละ  2  คะแนน
                               
           ข้อ  1  และ  2  ตอบถูกได้  1  คะแนน  ตอบผิดได้  0       ข้อ  3  ตอบถูกได้  1  คะแนน  ตอบผิดได้  0
                                            ข้อ  4  ตอบถูกได้  2  คะแนน  ตอบผิดได้  1  คะแนน   
ข้อ  5  ขอเพียงให้ตอบตามความเข้าใจได้  2  คะแนน
                                 รวมทั้งหมด  15  คะแนน  ผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ  70  คือต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า  10.5
                                7.3.2  พฤติกรรมผ่านเกณฑ์อย่างน้อยร้อยละ  70
                                           รวมคะแนนพฤติกรรม  20  คะแนน  คือต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่า  14  จึงจะผ่าน

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 10

1)   กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
กรณีเขาพระวิหารนี้คิดว่าเริ่มมีปัญหามาตั้งแต่ไทยต้องเสียเขาพระวิหารและดินแดนบริเวณที่ตั้งของเขาพระวิหารใน ช่วงที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี พ.. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และมีปัญความขัดแย้งมาโดยตลอดในเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ จนกระทั่ง 2-3ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ พิพาทกันอยู่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุคนไทยถูกจับกุมในพื้นที่ พิพาทนี้ทำให้มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตุแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัว
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
ผลของMOU 43 ทำให้กรณีพิพาทนี้ยุ่งเข้าไปอีกทำให้หาข้อยุติไม่ได้ในปัจจุบันหากนำมาในจะทำให้พื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อนตกเป็นของกัมพูชาเพราะ  MOU 43มีการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000ซึ่งทำให้ดินแดนพิพาทเป็นของกัมพูชา
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
ในกรณีนี้ไม่แน่นอนอยู่ว่าไทยลุกล้ำดินแดนของกัมพูชาอย่างไรเพราะเป็นพื้นที่พิพาทกันอยู่ดังนั้นรัฐบาลจะต้องช่วยเหลือคนเหล่านี้โดยเร็วที่สุดโดยใช้ความเด็ดขาดไม่ยินยอมและอ่อนแอ อย่างนี้ทำให้กัมพูชาได้ใจและหาเรื่องอยู่ตลอดจึงวอนให้นายกและรัฐบาลชุดนี้จัดการปัญหาให้เสร็จไปคนไทยจะได้ไม่เป็นเหยื่อของการพิพาทของดินแดนอีกต่อไป
ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
     เรื่อง  การเรียนด้วยบล็อก
          การเรียนการสอนด้วยบล็อกถือว่าเป็นการเรียนที่ทันสมัยและสะดวกเป็นอย่างยิ่ง เราจะเห็นได้ว่า การเรียนด้วยบล็อกเป็นการเรียนที่ครูสามารถให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งการเรียนอย่างนี้ถือว่าเป็นการเรียนที่ดี ที่สามารถทำให้นัเรียน นักศึกษา เรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และอิสระ  แต่การเรียนด้วยบล็อกนี้มีข้อเสียอยู่ว่า เมื่ออยู่ในชั้นเรียนนักเรียน นักศึกษา จะไม่ให้ความสนใจหรือตั้งใจในการสอนของผู้สอน เนื่องจากปัจจุบันนี้มีของเล่นต่างๆ ที่นักเรียน นักศึกษาจะให้ความสนใจมากกว่า จึงทำให้ผู้เรียนจะไม่ทำงานที่ได้รับมอบหมาย  แต่ผู้เรียนจะทำทีเดียวตอมที่ใกล้ผู้สอนจะตรวจ จึงทำให้งานที่ได้รับมอบหมายนั้น ออกมาเป็นที่ไม่น่าพอใจสักเท่าไรนัก
คำถามของนักศึกษาที่ต้องการแสดงความคิดเห็นการเรียนการสอน
ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นในประเด็นใดๆ ก็ได้ลงในบล็อก


เรือง การบริหารจัดการชั้นเรียน
     หลักในการจัดชั้นเรียนคือ การจัดบรรยากาศ ทางด้านกายภาพและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาใน ชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และเพื่อการพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ควรคำนึงถึง หลักในการจัดชั้นเรียน
      ซึ่งการบริหารจัดการในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนใจในการเรียนการสอนมากขึ้น  ดังนั้นการสร้างบรรยากาศภายในห้องเรียน หรือการสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียนนั้นถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและมีความตั้งใจมากยิ่งขึ้น หากครูสามารถบริหารจัดการในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี ทั้งครูและนักเรียนก็จะสามารถเรียนได้อย่างมีความสุข

กิจกรรมที่ 9

โทรทัศน์ครู  ตอน ฉันอยากเป็นครู  อาจารย์สุวิมล  ฟองแก้ว
     อาจารย์สุวิมล ฟองแก้ว เป็นครูที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายแต่มีใจรักที่อยากเป็นครูมาก อาจารย์สุวิมล พยายามทำทุกวิธีทางเพื่อให้เธอเป็นคุณครูให้ได้ ในที่สุดความพยายามของเธอก็ประสบความสำเร็จ เธอสอนให้นักเรียนรู้จักคำว่า ให้อภัย สามัคคี และเธอไม่เคยด่าว่านักเรียน เธอใช้คำพูดที่ดีในการพูดจากับเด็กนักเรียน  ซึ่งเธอเป็นที่ปรึกษาให้กับเด็กนักเรียนได้เป็นอย่างดี  จนถึงวันที่เธอต้องย้ายจากโรงเรียนนี้ไป  เด็กๆต่างพากันร้องห่มร้องไห้ด้วยความเสียใจ  เพราะอาจารย์สุวิมลเป็นที่รักและเคราพของนักเรียนที่นี้  โดยเฉพาะเด็กนักเรียนชั้นม. 3/3 ซึ่งอาจารย์สุวิมลเป็นครูที่ปรึกษา  ซึ่งเด็กนักเรียนต่างเล่ากันว่า ครูสุวิมลเป็นครูที่เปรียบเสมือนแม่คนที่สองของพวกเขา สอนพวกเขาเหมือนกับสอนลูกของตนจริงๆ
       อาจารย์สุวิมล ฟองแก้ว เป็นอาจารย์ที่เป็นตัวอย่างที่ดีของนักเรียนมาโดยตลอด ไม่ว่าในเรื่องใดก็ตาม ครูสุวิมลก็สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมมาโดยตลอด ดังนั้น ความคุณสมบัติต่างๆที่ดีที่ครูสุวิมลได้กระทำอยู่นั้นเราสามารถที่จะนำมาใช้ประกอบในการสอนที่จะมาถึงในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้า