วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 8

วัฒนธรรมองค์การ คือ เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมของกลุ่มคน มิใช่ค่านิยม ความเชื่อ และ / หรือ ความเข้าใจของ คนๆ เดียว ปรากฎการณ์ทางสังคมของกลุ่มคนดังกล่าวอาจเป็นค่านิยม ความเชื่อ และ / หรือ ความเข้าใจของกลุ่มพนักงานที่อยู่ในฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต หรืออาจเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมของคนส่วนใหญ่ในองค์การก็ได้
แนวความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ วัฒนธรรมมิใช่เป็นเพียงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมโดยทั่วไปเท่านั้นแต่ยังเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆด้วยสังคมอาศัยวัฒนธรรมเพื่อช่วยในการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาพื้นฐานบางประการของกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันเพื่อความอยู่รอดของสมาชิก เช่น สังคมอาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองและกระบวนการยุติธรรมมาช่วยแก้ปัญหาการเมืองและความขัดแย้งในสังคม
การพัฒนาวัฒนธรรมองค์การ จะต้องเห็นคุณค่าหรือค่านิยม(value)ร่วมกัน ยึดถือแน่นแฟ้นในการติดต่อสัมพันธ์ภายในเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานร่วมกันบรรลุผลสำเร็จตามที่องค์การคาดหวังไว้การพัฒนาองค์การ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาวัฒนธรรมองค์การที่เหมาะสม และเกื้อหนุนต่อการเปลี่ยนแปลง (changes) ที่จำเป็น
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์กร     เป็นระบบที่สมาชิกมีความเข้าใจและยอมรับร่วมกันถึงสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติในองค์การถึงแม้ไม่มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม ผู้นำที่มีความมุ่งมั่นสูงในการสร้างวัฒนธรรมองค์การจะได้รับการสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและได้รับการดูแลให้เจริญเติบโตอย่างมั่นคงแต่ถ้าผู้นำมีความมุ่งมั่นต่ำในการสร้างวัฒนธรรมองค์การและวัฒนธรรมที่ต้องการสร้างขาดความชัดเจน (type 4) จะส่งผลให้การสร้างวัฒนธรรมองค์การเป็นไปอย่างไร้ทิศทางซึ่งจะสร้างความสับสนให้กับคนในองค์การ  
การประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในกรณีศึกษาของประเทศไทย เช่น สาขาของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทยผู้จัดการพยายามพัฒนาพนักงานให้มีความ สนใจลูกค้ามากขึ้น ประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การในการควบคุมแบบไม่เป็นทางการนั้น พบว่าบุคคลที่มีทัศนคติไม่ดีต่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งมีรอยยิ้มน้อยที่สุดหรือยิ้มยากที่สุดต้องเริ่มฝืนยิ้ม เพราะเป็นบุคคลเดียวที่ไม่มีดอกไม้บนโต๊ะ ที่จำต้องยิ้มเพราะวันหนึ่งมีลูกค้าถามว่า "พี่ครับ ทำไมโต๊ะพี่ถึงไม่มีดอกกุหลาบล่ะครับ ผมเห็นทุกคนมีดอกไม้เหมือนกันหมดเลย" ซึ่งก็คงเป็นการยากที่จะตอบลูกค้าว่าก็เพราะฉันยิ้มกับลูกค้าไม่เป็นไงล่ะ ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างของลูกศิษย์ที่ผ่านการอบรมศึกษาในเรื่องนี้แล้วได้ นำไปประยุกต์ใช้ โดยกลับมาเล่าให้ฟัง ซึ่งผู้เขียนต้องขอบคุณในเทคนิควิธีที่ผู้บริหารผู้นั้นนำไปใช้อย่างชาญฉลาด ในเชิงประยุกต์เป็นผลทำให้สาขาของธนาคารนั้นมีแต่รอยยิ้มเสมอมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น